กีวี (พืช)
กีวี (พืช)

กีวี (พืช)

กีวี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Actinidia chinensis) ภาษาจีนเรียกหมีโหวเถา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง[1] ต่อมาเริ่มเป็นที่แพร่หลายออกนอกประเทศจีน ต่อมา มีผู้นำไปปลูกที่นิวซีแลนด์เมื่อ พ.ศ. 2449 และได้ปรับปรุงพันธุ์จนได้กีวีที่รสดีมากขึ้น จนกลายเป็นผู้ส่งออกกีวีรายใหญ่ที่สุด นอกจากนั้น นิวซีแลนด์ยังเปลี่ยนชื่อเรียกผลไม้ชนิดนี้จาก Chinese gooseberry[2] เป็นกีวี ตามชื่อของนกกีวีที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ[1]Jack Turner เป็นคนที่เริ่มเรียกว่า "kiwifruit" เมื่อราว พ.ศ. 2505[3] ในประเทศไทยนำกีวีเข้ามาปลูกที่ดอยอ่างขาง และดอยขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่กีวีเป็นไม้เลื้อย กิ่งและใบมีขนปกคลุม สีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ดอกแยกเพศและแยกต้นกัน ดอกสีขาว ผลรีรูปไข่ มีขนเล็กๆปกคลุมทั่วผล เนื้อสีเขียว บางพันธุ์เนื้อสีเหลือง ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน แต่มีความไวต่อเอทิลีน ถ้าเก็บกีวีดิบไว้ใกล้กับผลไม้ที่ปล่อยเอทิลีน เช่น กล้วย แอปเปิล จะสุกเร็วมาก ถ้าเก็บอย่างเหมาะสม จะเก็บได้นานถึงสองสัปดาห์[4]

กีวี (พืช)

ไทอามีน (บี1)
(2%)
0.027 มก.
วิตามินเค
(38%)
40.3 μg
เหล็ก
(2%)
0.31 มก.
สังกะสี
(1%)
0.14 มก.
วิตามินอี
(10%)
1.5 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(2%)
0.341 มก.
วิตามินซี
(112%)
92.7 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(2%)
0.025 มก.
โฟเลต (บี9)
(6%)
25 μg
ฟอสฟอรัส
(5%)
34 มก.
วิตามินเอlutein zeaxanthin
122 μg
โปรตีน
1.14 g
ใยอาหาร 3.0 g
โซเดียม
(0%)
3 มก.
แมกนีเซียม
(5%)
17 มก.
วิตามินบี6
(48%)
0.63 มก.
ไขมัน
0.52 g
พลังงาน 255 kJ (61 kcal)
คาร์โบไฮเดรต
14.66 g
แคลเซียม
(3%)
34 มก.
โพแทสเซียม
(7%)
312 มก.
น้ำตาล 8.99 g